วิวัฒนาการของวิทยุในประเทศไทย


ประวัติวิทยุในประเทศไทย
bb

              รู้จักความเป็นการของการพัฒนาเทคโนโลยีรับส่งวิทยุในต่างประเทศกันไปแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า ในประเทศไทย รับเอาเทคโนโลยีวิทยุมาเมื่อไร อย่างไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
ในการจะทำความเข้าใจวิวัฒนาการของกิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยนั้น ควรเข้าใจถึง “บทบาท” ของวิทยุ และการใช้กิจการวิทยุในเรื่องที่แตกต่างกันในแต่ละยุค ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ยุค ดังนี้
ยุควิทยุโทรเลข (พ.ศ. 2447-2469)
ยุคทดลองส่งกระจายเสียง (พ.ศ. 2470-2474)
ยุควิทยุกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475-2480)
ยุควิทยุกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลทหาร (พ.ศ. 2483-2515)
ยุควิทยุกับการเรียกร้องประชาธิปไตย (พ.ศ. 2516-2525)
ยุคขยายตัวทางธุรกิจและเสรีภาพวิทยุ (พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน)
ยุควิทยุโทรเลข (พ.ศ. 2447-2469)


ประเทศไทยเริ่มรับเทคโนโลยี “โทรเลข” เข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2447 บริษัทเทเลฟุงเก็น ขออนุญาตทดลองจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขชั่วคราว ที่บริเวณภูเขาทอง และเกาะสีชัง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ในปีพ.ศ.2450 จอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้กรมทหารเรือ
พ.ศ. 2456 ร.6 ให้กระทรวงทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวร ที่ศาลาแดง กรุงเทพฯ และที่ จ.สงขลา
ปี พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติศัพท์คำว่า วิทยุ เพื่อใช้แทนคำว่า ราดิโอ ซึ่งใช้ทับศัพท์กันมาตลอด พร้อมทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลขเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับกิจการวิทยุกระจายเสียง โดยมีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้กำกับดูแลการนำเข้าเครื่องส่งและการใช้วิทยุโทรเลขในประเทศไทย
พ.ศ.2469 กรม ไปรษณีย์โทรเลข เข้ามาโอนกิจการสถานีวิทยุโทรเลขที่ศาลาแดงและสงขลามาจากกองทัพเรือ รวมไปถึงการโอนพนักงานวิทยุของทหารเรือเข้ามาเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรม ไปรษณีย์โทรเลขด้วย และยังมีการขยายงานวิทยุโทรเลขออกไปยังจังหวัดต่างๆ รวม50 สถานี แต่ในขณะนั้นวิทยุโทรเลขยังไม่เป็นที่นิยมของประชาชนมากนักเพราะประชาชนยัง ไม่เชื่อว่าการติดต่อทางวิทยุโทรเลขนั้นจะเป็นไปได้จริง

ยุคทดลองส่งกระจายเสียง (พ.ศ. 2470-2474)
เมื่อมีกิจการโทรเลขแล้ว ประกอบกับความก้าวหน้าของวิทยุในต่างประเทศ ทำให้มีเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งมีความสนพระทัยในการส่งกระจายเสียงวิทยุเป็นอย่างมาก นั่นคือ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งเรายกย่องให้พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงเป็น “บิดาแห่งวงการวิทยุกระจายเสียงไทย”
kkp1

                พระองค์เริ่มทดลองวิทยุในวังก่อน จนกระทั่งวันที่ 31 พฤษภาคม 2471 จึงเริ่มทดลองส่งกระจายเสียงวิทยุเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า สถานี 4 PJ (PJ เป็นพระนามย่อของพระองค์) โดยทรงทำการทดลองการส่งกระจายเสียง ณ อาคาร “ไปราณียาคาร” ซึ่งใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์ แห่งแรก ตั้งอยู่บริเวณปากคลองโอ่งอ่าง นับเป็นการเริ่มกระจายเสียงวิทยุเป็นครั้งแรก ในการกระจายเสียงครั้งนั้น ทรงสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียงที่มีขนาดกำลังส่ง 200 วัตต์ ขนาดความยาวคลื่น 36.42 เมตร ซึ่งเป็นคลื่นสั้นเข้ามา 1 เครื่อง ซึ่งการทดลองกระจายเสียงก็ได้รับความสนใจจากประชาชนมาก
เมื่อประชาชนให้ความสนใจและนิยมซื้อเครื่องรับวิทยุที่เรียกว่าเครื่องแร่ในสมัยนั้นกันมากขึ้น สมเด็จกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จึงได้ทรงสั่งเครื่องส่งที่มีกำลังสูง 2.5 กิโลวัตต์จากบริษัทฟิลลิปราดิโอ ประเทศฮอลันดา เข้ามาอีกเครื่องหนึ่ง โดยใช้ขนาดคลื่น 363 เมตร ติดตั้งสถานีส่งกระจายเสียงที่วังพญาไท และจัดตั้งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น ชื่อว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท”
ยุควิทยุกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475-2480)
ในปี 2475 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยคณะราษฎ์ซึ่งนำโดยพันเอกพหลพลพยุหเสนา ในยุคนั้น คณะราษฎ์ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สภาพของวิทยุกระจายเสียงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 ทาง ราชการต้องการสถานที่วังพญาไทเพื่อจัดสร้างเป็นโรงพยาบาล (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน) สถานีวิทยุพญาไทจึงย้ายไปอยู่ร่วมกับสถานีวิทยุที่ศาลาแดง ทำการส่งกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีใหม่ว่า “ สถานีวิทยุกรุงเทพฯที่ศาลาแดง 7 พีเจ ” ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2479
ยุควิทยุกับการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลทหาร (พ.ศ. 2483-2515)
05
            การโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเห็นได้ชัดในยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีมีนโนบายเรื่องชาตินิยม รัฐนิยม และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้มีลักษณะสากลนิยม โดยใช้วิทยุเป็นสื่อในการปลุกเร้าความรู้สึก ความคิด และความเชื่อของประชาชนให้เป็นไปตามนโยบายของตัวเอง
ยุควิทยุกับการเรียกร้องประชาธิปไตย (พ.ศ. 2516-2525)
sepoct
             ในช่วงประมาณปี 2516 -2526 เป็นช่วงที่เหตุการณ์ในประเทศไทยไม่สงบ มีการปฏิวัติรัฐประหารและการเดินขบวนเรียกร้องของนักศึกษาและประชาชนอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516  และ 6 ตุลา 2519 วิทยุถูกใช้เพื่อเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลในการโฆษณาชวนเชื่อและบิดเบือนข่าวสารเกี่ยวกับการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา
ยุคขยายตัวทางธุรกิจและเสรีภาพวิทยุ (พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน)
ความคิดของวิทยุในไทยเปลี่ยนไปสู่เรื่องของการค้า และ เครื่องมือในการทำกำไรทางธุรกิจ แต่จะว่าไปแล้ว การที่เมืองไทยมีโฆษณาระหว่างรายการในวิทยุนั้นก็มีมาตั้งนานแล้ว โดยเริ่มจากการขยายตัวของคลื่นวิทยุ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินเพียงรายเดียว จึงเกิดการเปิดช่องทางให้เอกชน บริษัท ห้างร้านมีการโฆษณาได้เพื่อสนับสนุนรายการ
กำเนิดวิทยุชุมชน
ช่วงพ.ศ. 2551 “วิทยุชุมชน” มีการผลักดันจนกฎหมายรองรับสิทธิของประชาชนในการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงมีกลุ่มคนทำวิทยุชุมชน
          วิทยุชุมชนต้อง
  • ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตชัดเจน
  • ไม่แสวงหาผลกำไร
  • นโยบายและผลการดำเนินงานกำหนดโดยชุมชน
ยังไม่มี กสช. กรมประชาสัมพันธ์กำกับดูแลไปก่อน
            วิทยุชุมชนมี 2 ลักษณะ
  • ตั้งโดยประชาชน ไม่หากำไร ทำเพื่อคนในชุมชน à สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ
  • ตั้งโดยผู้ประกอบการวิทยุท้องถิ่น เน้นเพลงและโฆษณา à ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย (วทท.)